รางวัลที่ได้รับ
การจัดทำแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนด้วยเทคโนโลยี QR Code
หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม จากคุรุสภา ปี 2552
หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม จากคุรุสภา ปี 2556
การจัดทำแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนด้วยเทคโนโลยี QR Code เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนอีกรูปแบบหนึ่ง สามารถใช้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีวิธีการจัดการที่ไม่ยุ่งยาก นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายดังนี้
สร้างรูปแบบใหม่ของการเรียนรู้โดยอาศัยเทคโนโลยี
เยาวชนและบุคคลทั่วไปสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา
เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับต้นไม้ทุกชนิดในรูปแบบดิจิทัลออนไลน์
ผู้จัดทำได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อเป็นผู้ให้อย่างแท้จริง
การสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนรูปแบบดิจิทัล
นักเรียนต้องมีพื้นฐานการสร้างเว็บไซต์ ซึ่งสามารถสร้างด้วย Google Sites ซึ่งให้บริการฟรีสำหรับผู้ที่มี Gmail เป็นขั้นตอนสุดท้ายของนักเรียนในการเรียน ทุกคนต้องสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน คนละ 1 เรื่อง ซึ่งเลือกจาก 4 กลุ่ม คือ พืช สัตว์ สถานที่ และอื่น ๆ ที่มีอยู่ในโรงเรียน โดยดำเนินการจัดทำดังนี้
นักเรียนสำรวจแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนทุกชนิด แล้วเลือกสิ่งที่นักเรียนสนใจศึกษามา 1 ชนิด
ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว เช่น สิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ผู้รู้ทั้งในและนอกโรงเรียน
ถ่ายภาพสิ่งที่เลือกไว้ทุกส่วน หากส่วนใดไม่มี เช่น ถ้าเป็นพืชยังไม่ออกดอก ก็นำภาพจากแหล่งข้อมูลอื่นมาประกอบ
รวบรวมข้อมูลที่ได้จัดทำลงใน Google Sites เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน เข้ามาศึกษาหาความรู้
ตัวอย่างการสร้างพืชศึกษา สาระการเรียนรู้ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว ประโยชน์แท้แก่มหาชน
สำรวจพืชทุกชนิดในโรงเรียน แล้วเลือกที่สนใจ
ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพืชดังกล่าว จากสิ่งพิมพ์
ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพืชดังกล่าว จากอินเทอร์เน็ต
ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพืชดังกล่าว จากผู้รู้ในชุมชน
การใช้ QR CODE เพื่อการเรียนรู้ทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา
หลังจากนักเรียนจัดทำข้อมูลลง Google Sites ออนไลน์ไปทั่วโลกแล้ว ภายในโรงเรียนได้คิดวิธีการที่จะให้นักเรียนและผู้สนใจทั่วไป สามารถทราบข้อมูลของต้นไม้ชนิดต่างๆ มากกว่าป้ายที่ติดไว้ เพราะป้ายที่ติดมีข้อจำกัดของปริมาณข้อมูลที่จะบรรยายลงในแผ่นป้าย
การใช้เทคโนโลยีที่เคยมี และกำลังใช้งานอยู่ และอนาคตจะมีผู้ใช้งานมากขึ้น นั่นคือ รหัสแท่ง หรือ Barcode ซึ่งเดิมบรรจุเฉพาะตัวเลข เพื่อใช้ติดสินค้าต่างๆ ต่อมาได้พัฒนาเป็น รหัสแท่ง 2 มิติ ที่สามารถบรรจุข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รหัสแท่ง 2 มิติที่นิยมใช้ชนิดหนึ่งก็คือ QR CODE
จากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนก้าว สู่มาตรฐาน QR Code
โรงเรียนได้ปรับวิธีการจาก การใช้ QR CODE กับสินค้า มาใช้กับแหล่งข้อมูลในโรงเรียน เช่น พืชชนิดต่างๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้
สร้าง QR CODE บรรจุข้อมูล URL ของเว็บไซต์ที่เป็นบล็อกเนื้อหารายละเอียดที่นักเรียนได้จัดทำไว้
พิมพ์ QR CODE ที่ได้สร้างไว้ลงบนกระดาษ แล้วเคลือบพลาสติกเพื่อกันน้ำ
ติดหรือแขวนไว้กับพืชดังกล่าว
ขั้นตอนการจัดทำ QR CODE
สร้าง QR CODE บรรจุข้อมูล URL ของเว็บไซต์ที่เป็นบล็อกเนื้อหารายละเอียดที่นักเรียนได้จัดทำไว้
พิมพ์ QR CODE ที่ได้สร้างไว้ลงบนกระดาษ แล้วเคลือบพลาสติกเพื่อกันน้ำ
ติดหรือแขวนไว้กับพืชดังกล่าว
QR CODE กับพืชในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย
การอ่านข้อมูลของพืชจาก QR CODE ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือแทบเล็ตที่มีกล้องถ่ายภาพ โดยมีขั้นตอนดังนี้
ติดตั้งโปรแกรมอ่าน QR CODE ลงบนโทรศัพท์มือถือ หรือแทบเล็ตที่มีกล้องถ่ายภาพ เช่น QR droid
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในโทรศัพท์มือถือ หรือแทบเล็ต
เปิดโปรแกรมอ่าน QR CODE ตั้งกล้องไปยัง ป้าย QR CODE
เมื่อโปรแกรมอ่าน QR CODE ดังกล่าวแล้ว ก็จะเปิดบราวเซอร์เข้าสู่เว็บบล็อกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพืชที่นักเรียนได้จัดทำไว้
ขั้นตอนการอ่าน QR CODE
ตัวอย่างผลงาน
ต้นเฟิร์นข้าหลวง
ต้นลีลาวดี (Plumeria)
กล้วยไม้